ประชุมวิชาการระดับชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2565
หัวข้อเรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการพัฒนาท้องถิ่น”
ระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม 2565
หลักการและเหตุผล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นมหาวิทยาลัยอุดมศึกษา
เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ สร้างองค์ความรู้ จากงานวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ให้ได้ตามมาตรฐานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2565 หัวข้อเรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งจะมีกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม ด้วยกันคือ 1) ภาษา วรรณกรรม คติชนวิทยา 2) ปรัชญา ศาสนา สังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม 3) ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) การสื่อสารเทคโนโลยี โดยมีความตระหนักที่จะส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และนักศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก บุคลากรในแวดวงวิชาการและวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวิจัย มีการ เรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านวิจัยในสาขาต่าง ๆ ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้เกิดเป็นเวทีวิชาการระดับชาติที่รวบรวมผลงานการวิจัยอันทรงคุณค่า และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การวิจัยในวงกว้าง และเป็นการบูรณาการ องค์ความรู้ทางวิชาการ การวิจัย และการบริการวิชาการ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมชมุชน โดยรวบรวมองค์ความรู้ที่มีคุณค่าจากการแลกเปลี่ยนทัศนะ ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งทางวิชาการและงานวิจัย เพื่อตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคมชมุชน โดยให้มหาวิทยาลัยฯ เป็นที่พึ่งพาของ สังคม ชุมชนอย่างยั่งยืน และเป็นฐานในการคิดอย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป คณะฯ จึงได้จัดทำโครงการ ประชุมวิชาการระดับชาติขึ้น
วัตถุประสงค์
-
เพื่อส่งเสริมให้นักวิชาการ คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการสู่สาธารณชนและชุมชนวิชาการ
-
เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ
กลุ่มเป้าหมาย
-
กลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร
-
ปริมาณกลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน
-
พื้นที่กลุ่มเป้าหมาย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ชื่อตัวชี้วัด**** |
หน่วยนับ |
ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด |
เชิงคุณภาพ |
||
1. ร้อยละของอาจารย์และบุคลการมีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัย |
ร้อยละ |
80 |
2. ร้อยละของนักศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัย |
ร้อยละ |
80 |
3. ร้อยละของนักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการนำเสนอบทความวิจัยความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัย |
ร้อยละ |
80 |
4. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ |
ระดับ |
4 |
เชิงปริมาณ |
||
1. จำนวนเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมเป็นเครือข่ายทางวิชาการและการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ |
จำนวน |
4 |
2. ร้อยละของบทความวิจัยของอาจารย์ที่ผ่านการประเมิน |
ร้อยละ |
80 |
3. ร้อยละของบทความวิจัยนักศึกษาที่ผ่านการประเมิน |
ร้อยละ |
80 |
วิธีดำเนินการ
ลำดับ |
แผนการดำเนินงานตามกิจกรรม |
วัน/เดือน/ปี |
1 |
ประชุมวางแผนการดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมในการจัดโครงการ |
20 ก.พ. 65 |
2 |
เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ |
11 มี.ค. 65 |
3 |
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน |
25 มี.ค. 65 |
4 |
ดำเนินงานโครงการตามแผนงานโครงการ |
เม.ย. – ส.ค. 65 |
|
4.1 ขั้นตอนการเตรียมงาน |
2 มี.ค. – 15 ก.ค. 65 |
|
1) ประชุมวางแผนการดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมในการจัดโครงการ |
” |
|
2) จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ / ห้องประชุม /เอกสารและสถานที่ในการจัดโครงการ |
” |
|
3) จัดทำหนังสือและโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์โครงการ |
” |
|
4) ประชาสัมพันธ์ไปยังมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ |
” |
|
5) ทำหนังสือเชิญวิทยากรในการบรรยาย |
” |
|
6) ติดต่อผู้ประเมินอิสระในการประเมินบทความวิจัย |
” |
|
– ติดต่อทำหนังสือเชิญคณะกรรมการประจำกลุ่มนำเสนอผลงานวิจัย |
” |
|
– ติดต่อคณะกรรมการดำเนินงานประจำห้องนำเสนอผลงานวิจัย |
” |
|
7) จัดทำเว๊บไซต์การประชุมวิชาการ |
” |
|
8) จัดเตรียมอาหารว่างและอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ |
” |
|
10) จัดทำแบบประเมินและแบบสอบถาม |
” |
|
11) จัดเตรียมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะและเครือข่าย |
” |
|
12) จัดเตรียมค่าตอบแทน Peer Review ค่าตอบแทนกรรมการประจำกลุ่ม ประจำห้อง |
” |
|
13) จัดเตรียมวุฒิบัตรผู้นำเสนอผลงาน |
” |
|
4.2 การเตรียมบทความ |
” |
|
1) ประชาสัมพันธ์ให้แต่ละฝ่ายเตรียมส่งบทความวิจัย |
” |
2) เตรียม Peer Review ในการประเมินบทความวิจัย |
” |
|
3) เปิดรับบทความวิจัย |
” |
|
4) นักวิจัยส่งบทความผ่านเว็บไซต์และชำระค่าลงทะเบียน |
||
5) คณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งบทความวิจัยให้ผู้ประเมินพิจารณา |
” |
|
6) คณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งบทความให้ผู้วิจัยแก้ไข |
” |
|
7) คณะกรรมการดำเนินงานโครงการตอบรับบทความ |
” |
|
8) ประกาศรายชื่อบทความที่ผ่านการพิจารณา |
” |
|
9) เตรียมเอกสารผลงานวิจัยเล่ม Proceeding จากงานประชุมวิชาการดังนี้– ผลงานวิจัยฉบับ Full Abstract ในรูปแบบเล่มเอกสาร |
” |
|
– ผลงานวิจัยฉบับ Full Paper ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ดาวน์โหลดผ่านเว๊บไซต์งานประชุมวิชาการ |
” |
|
|
4.3 ขั้นตอนการจัดกิจกรรม |
24-25 ส.ค. 65 |
|
1) ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ |
” |
|
2) พิธีเปิดงานประชุมวิชาการ |
” |
|
3) พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยเครือข่าย |
” |
|
4) มอบวุฒิบัตรให้มหาวิทยาลัยเครือข่ายที่เข้าร่วม MOU |
” |
|
5) บรรยายพิเศษ |
” |
|
6) นำเสนอผลงานวิจัยประจำห้อง |
” |
|
7) มอบวุฒิบัตรผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย |
” |
|
8) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ |
” |
|
4.4 ขั้นตอนประเมินผลและสรุปผล |
|
|
1) จัดทำแบบรายงานการจัดโครงการและประเมินผล |
4 ก.ย. 65 |
|
2) วิเคราะห์และสรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ |
5 ก.ย. 65 |
|
3) จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ |
6 ก.ย. 65 |
5 |
รายงานผลการดำเนินโครงการ |
7 ก.ย. 65 |
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
ได้ส่งเสริมให้นักวิชาการ คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิชาการสู่สาธารณชนและชุมชนวิชาการ
-
นักวิชาการ คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ